top of page

กฎระเบียบสมาคม
ไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทย

ในปี 2006 กระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศเกี่ยวกับใบอนุญาตการแพทย์ไคโรแพรคติกในประเทศไทย นี่คือสาระสำคัญของคำประกาศ

คำนิยามของไคโรแพคติก ศาสตร์ของการแพทย์ไคโรแพรคติกหมายความว่า การกระทำใดๆที่เกียวข้องกับการตรวจสอบ, การวินิจฉัย, การรักษา และส่งเสริมสุขภาพร่างกายโดยเฉพาะส่วนของกระดูกสันหลัง และเนื้อเยื่อที่เกียวข้องโดยไม่ใช้ยาและการผ่าตัด
 

เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายไคโรแพรคติกในประเทศไทย ไคโรแพรคติกแพทย์จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้:

อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี, ไม่เป็นบุคคลทุพลภาพ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีปัญหาทางจิต

สำเร็จการศึกษาจากสถาบันไคโรแพรคติกที่ได้รับการรับรอง: ทางสมาคมไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทยร่วมกับคณะอนุกรรมการไคโรแพรคติกได้รับอำนาจในการรับรองหลักสูตรว่าสถาบันใด เพียงพอต่อการได้รับการอนุญาตให้เข้าสอบใบอนุญาตการเป็นแพทย์จัดกระดูกได้ หลักสูตรของวิทยาลัยจะต้องเป็น แพทย์ไคโรแพรคติก (ปริญญาแพทยศาสตร์) สำหรับวิทยาลัยที่ใช้หลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์, หลักสูตรปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์ ผู้ที่จะเข้าร่วมการสอบจะต้องสำเร็จการศึกษาทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทชั้นสูงในสาขาวิทยาศาสตร์

แพทย์จัดกระดูกจะต้องเป็นผู้ประพฤติตนอยู่ในจริยธรรม ไม่เป็นผู้ติดสารเสพติด และไม่เป็นผู้ได้รับการตัดสินในคดีความอาชญากรรม อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงของสำนักงานคณะกรรมการกำกับการปฏิบัติโรคศิลปะ

แพทย์จัดกระดูกทุกท่านที่จะเข้าสอบจะต้องผ่านการสอบประวัติอย่างเข้มงวด รวมไปถึงการไม่มีบันทึกประวัติอาชญากรรมความผิดทางกฏหมายจากประเทศเกิดของท่านด้วย ซึ่งนั่นรวมไปถึงบันทึกลายนิ้วมือที่จะถูกส่งไปทั้งที่สำนักงานตำรวจประเทศไทยและหน่วยงานที่บังคับใช้กฏหมายของประเทศบ้านเกิดของแพทย์จัดกระดูก อย่างเช่น FBI ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น การตรวจสอบภูมิหลังโดยหน่วยงานมืออาชีพนี้รวมไปถึงการตรวจสอบการกระทำผิดในประเภทการทุจริตต่อหน้าที่ด้วย
 

แพทย์จัดกระดูกจะต้องผ่านการสอบไคโรแพรคติกในประเทศไทย การสอบอย่างเข้มงวดจะถูกจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน ซึ่งข้อสอบจะครอบคลุมไปถึง ข้อเขียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น กายวิภาคศาสตร์กระดูกสันหลังวิทยาสรีรวิทยา  และชีวกลศาสตร์ ตลอดจนถึงข้อสอบข้อเขียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์คลินิกรวมทั้งพยาธิวิทยา การวินิจฉัยจำแนกโรค รังสีวิทยา ศัลยกรรมกระดูกและประสาทวิทยา ข้อเขียนในส่วนที่เกี่ยวกับทฤษฎีไคโรแพรคติกจะรวมอยู่ในข้อสอบด้วย การสอบภาคปฏิบัติเป็นการสอบในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิกและเทคนิคการแพทย์ไคโรแพรคติก กฏหมายสาธารณสุขและจริยธรรมของประเทศไทยจะจัดสอบแยกอีกส่วน ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการสอบสัมภาษณ์ซึ่งจะเป็นการดำเนินการสอบโดยใช้ภาษาไทย การสอบจะดำเนินโดยทีมแพทย์ชาวไทยรวมไปถึงแพทย์จัดกระดูกผู้ซึ่งผ่านการสอบใบอนุญาตในประเทศไทยแล้ว สิ่งสำคัญที่จะต้องทราบคือหากผู้เข้าสอบเป็นชาวต่างชาติ จะต้องอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันจึงจะมีสิทธิเข้าสอบได้ แพทย์จัดกระดูกที่เป็นชาวต่างชาติหากมีประสงค์ที่จะเข้าสอบจะต้องอยู่ในประเทศอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า       9 เดือนในแต่ละปีเพื่อให้บรรลุความประสงค์ในการตรวจสอบ กรมการตรวจสอบคนเข้าเมืองจะทำการตรวจสอบบันทึกการเข้าเมืองของผู้เข้าสอบที่เป็นชาวต่างชาติอย่างระมัดระวังเพื่อยืนยันว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติตามข้อเรียกร้อง นี่คือกฏโดยทั่วไปที่ต้องใช้เป็นการอ้างอิงว่าเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศจริง ข้อกำหนดนี้ไม่ได้เริ่มโดยจำเพาะเจาะจงสำหรับอาชีพไคโรแพรคติก จุดเริ่มต้นครั้งแรกมาจากการทำให้แพทย์แผนจีนกลายเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับอย่างถูกกฎหมายเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดังนั้นเพื่อให้ศาสตร์ไคโรแพรคติกบรรลุการยอมรับอย่างเป็นทางการ กฎของการเป็นผู้พำนักอาศัยในประเทศจึงขยายมาครอบคลุมวิชาชีพด้านสาธารณสุขแนวใหม่ทั้งหมดที่อยูภายใต้ขอบเขตฝ่ายแพทย์ทางเลือก
 

ไคโรแพรคติกจะต้องดำเนินการในสถาน “พยาบาล” ทั้งนี้เนื่องมาจากการแปลที่ผิดหลัก ซึ่งความหมายที่แท้จริงนั้นคือเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายแล้ว ไคโรแพรคติกจะต้องดำเนินการโดยมีใบอนุญาตประกอบการคลินิกหรือโรงพยาบาล ใบอนุญาตประกอบการคลินิกจะต้องมีการติดป้ายไว้ข้างหน้าของคลินิกเสมอซึ่งป้ายนั้นจะต้องมีเลขทะเบียนคลินิกแสดงไว้ด้วย

clinic-sign-v2.jpg

ภายในของคลินิกควรจะต้องมีใบอนุญาตที่เป็นสีฟ้าบ่งบอกชื่อของผู้รักษา สาขา ใบอนุญาตเลขที่ และมีรูปของแพทย์ ปรากฏอย่างเด่นชัดและวางอยู่ในที่ที่สามารถอ่านได้ง่ายตามตัวอย่างข้างล่างนี้

License-v3.jpg

เป็นการผิดกฎหมายหากดำเนินการจัดกระดูกแบบไคโรแพรคติกในสถานที่อื่นๆ เช่น สปา หรือฟิตเนสเซ็นเตอร์ เราได้รับการรายงานมาเป็นครั้งคราวว่ามีผู้ประกอบอาชีพจัดกระดูกแบบชั่วคราวในสปาหรือตามรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยวเช่น เกาะสมุย กระบี่ ภูเก็ต หัวหิน และเชียงใหม่ สถานพยาบาลที่มีใบอนุญาตในประเทศไทยจะได้รับการตรวจสอบจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มั่นถึงคุณภาพในการให้บริการ ซึ่งจะแตกต่างจากสปา รีสอร์ทเพื่อสุขภาพและศูนย์ฟิตเนสทั่วๆไป แพทย์ไคโรแพรคติกเหล่านี้ทำงานอย่างผิดกฏหมาย และได้ก่อความเสี่ยงให้กับประชาชน เพราะพวกเขายังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบอย่างถูกต้องหรือยังไม่ผ่านการประเมินระดับความสามารถของทักษะอาชีพ สิ่งสุดท้ายที่เราต้องการก็คือการที่มีแพทย์ไคโรแพรคติกบางท่านได้ถูกยึดใบอนุญาตประกอบโรคจากประเทศอื่นๆเพราะการประพฤติมิชอบ จากนั้นย้ายมาที่ประเทศไทยแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน ซึ่งได้เคยเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นในอดีตว่ามีบุคคลที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมแพทย์ไคโรแพรคติกอย่างเป็นทางการแต่กลับประกาศตนเองว่าเป็นแพทย์จัดกระดูกในประเทศไทย

กลยุทธ์อีกประการที่ไคโรแพรคเตอร์ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะในประเทศไทยทำกันคือ ทำการรักษาโดยไม่สอบเพื่อให้ได้ใบอนุญาตไคโรแพรคติก และพยายามเพียงแค่เปลี่ยนการเรียกจากการเป็นไคโรแพรคเตอร์ ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านโครงสร้างและกระดูก อย่างไรก็ตาม การจะรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย ท่านจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะจากกระทรวงสาธารณสุข

นอกจากกฎเกณฑ์ที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ไคโรแพรคเตอร์ชาวต่างชาติทั้งหมดต้องมีใบอนุญาตการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย

workpermit.jpg

แพทย์จัดกระดูกที่ได้รับใบอนุญาตทั้งหมดจะต้องเข้าร่วมการสัมมนาเพื่อการอนุมัติต่ออายุใบอนุญาตเป็นเวลา 12 ชั่วโมงทุกๆ 2 ปี

คณะอนุกรรมการไคโรแพรคติก

ปฏิญญาว่าด้วยการออกใบอนุญาตของแพทย์จัดกระดูกได้เรียกร้องให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการไคโรแพรคติกในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อกำกับดูแลการบริหารงานการแถลงการณ์ต่างๆของการแพทย์ไคโรแพรคติก คณะอนุกรรมการประกอบไปด้วย แพทย์จัดกระดูก ผู้เขี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพด้านอื่นๆ  และข้าราชการที่ทำงานในกระทรวงสาธารณสุข เป็นสิ่งสำคัญที่พึงทราบว่าแพทย์จัดกระดูกทั้งหมดที่อยู่ในคณะอนุกรรมการนั้นเป็นสมาชิกของสมาคมแพทย์ไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทย

ทำไมกฎระเบียบจึงเป็นสิ่งจำเป็น

วัตถุประสงค์หลักของกฎระเบียบคือการป้องกันอันตรายที่เป็นไปได้ให้แก่ประชาชน ไคโรแพรคติกนั้นต้องการความเชี่ยวชาญซึ่งต้องใช้การอบรมการฝึกปฏิบัติเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญนานเป็นแรมปี หากผู้ใดไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมที่เหมาะสมแต่พยายามที่จะใช้เทคนิคของไคโรแพรคติกแก่ผู้อื่น เขาอาจทำให้บุคคลนั้นเสี่ยงต่อการบาดเจ็บร้ายแรงได้ เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ประเทศไทยนั้นมีชื่อเสียงในการดึงดูดผู้ที่มีภูมิหลังอันน่าสงสัย ดังนั้นขั้นตอนในการตรวจคัดกรองจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อของแพทย์จัดกระดูกทั้งหมดที่ได้รับใบอนุญาตในปัจจุบัน โดยการเลือกแพทย์จัดกระดูกจากรายชื่อด้านล่าง คุณสามารถมั่นใจได้ว่าแพทย์จัดกระดูกนี้นั้นได้ผ่านการตรวจสอบว่ามีความสามารถอย่างเหมาะสมและไม่มีประวัติการกระทำผิดใดๆ อันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้

รายชื่อไคโรแพรคเตอร์ที่ถูกกฏหมายในประเทศไทย

  1. ดร. สรสิช แสงนาค

  2. ดร. ธีระศักดิ์ รอดพ่วง

  3. ดร. มาร์ค ลีโอนี่

  4. ดร.มนต์ทณัฐ (รุจน์) โรจนาศรีรัตน์

  5. ดร. สันติ ไฉไลวิณิชย์กุล

  6. ดร. เอ็ม เชส ชนัยเออร์

  7. ดร.เจตน์ ทองวิชิต

  8. ดร. ยุพิน ทองวิชิต

  9. ดร. เจน ทองวิชิต

  10. ดร. เจฟ ทองวิชิต

  11. ดร.แพทริค อีลิคสัน

  12. ดร. โธมัส วัตสัน

  13. ดร. ปาร์ค จินฮี

  14. ดร. สุจิตต์ ตู้สิริ

  15. ดร.นิวัฒน์ พนมสารนรินทร์

  16. ดร.โชติ์นันท์ จิรหทัยธรรม

  17. ดร.Samuel Adams

  18. ดร.Joseph Surette

  19. ดร.วรวรรธน์ บวรรับพร

  20. ดร. รุ่งทิวา เจริญเศรษฐกิจ

  21. ดร. วรวิทย์ ชายจันตา

  22. ดร. นราธิป ติยะรัตนาชัย

  23. ดร. Derek Patriquin

  24. ดร. คิม บอมจุน

  25. ดร.ณัฐ นาราวิทย์

  26. ดร. Jefri Metheany

  27. ดร. Mau Minh Huynh

  28. ดร. Andrew Bryant

  29. ดร. Justin Bashor

  30. ดร. Eunhwan Choi

  31. ดร. Kevin Hamasaki

  32. ดร. Seungyong Park

    และไคโรแพรคเตอร์อีก 3 ท่านนี้ก็มีใบอนุญาตอย่างถูกต้องเพียงแต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทย

  33. นายเสถียร สว่างโลก

  34. ดร. ทอม สมิธ*

  35. ดร. ฟิลลิป เพอรี่*

มีหลายเหตุการ์ณที่เกิดขึ้นจากการฝึกจัดกระดูกโดยไม่ได้รับอนุญาต ด้านล่างเป็นเรื่อราวของการจับกุมแพทย์จัดกระดูกดังกล่าว

bottom of page