แพทย์จัดกระดูกเป็นที่รู้จักและมีการรักษาในประเทศไทย
ครั้งแรกเมื่อปี 1980
หลังจากนั้นไม่นาน พวกเขาก็ถูกบีบบังคับให้ออกจากประเทศ เนื่องจากมีความเสี่ยงในการถูกจับกุมเพราะรักษาผู้ป่วยโดยไม่มีใบอนุญาต การดำเนินธุรกิจด้วยศาสตร์ไคโร แพรคติกอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งแรกได้เริ่มขึ้นในปี 1993 จวบจนปี 1998 ได้มีแพทย์จัดกระดูกทั้งหมด 10 ท่านที่ได้ดำเนินการจดทะเบียนทำธุรกิจในประเทศไทย ณ ช่วงเวลานั้นแพทย์จัดกระดูกทั้งหลายได้ประกอบการโดยใช้ใบอนุญาตการทำงานและเสียภาษีอย่างถูกต้อง แต่สถานะภาพยังคงไม่ชัดเจน ขณะนั้นทางกระทรวงแรงงานได้ออกใบอนุญาตให้ แต่ทางกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ได้ยอมรับให้ไคโรแพรคติกเป็นอาชีพที่ดูแลรักษาสุขภาพได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย
ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 1993-1999
แพทย์จัดกระดูกหลายต่อหลายท่านต้องถูกจับกุมในข้อหารักษาคนไข้โดยไม่มีใบอนุญาต แพทย์จัดกระดูกท่านหนึ่งถูกตั้งข้อหาว่าเปิดดำเนินสถานพยาบาลโดยไม่มีใบอนุญาต บรรดาแพทย์จัดกระดูกที่ทำงานอยู่ในประเทศในช่วงเวลานั้นต้องทำงานด้วยความหวาดกลัวต่อการถูกจับกุมตลอดเวลา สถานการ์ณนี้เหมือนๆกับในช่วงเวลาเริ่มแรกของวิชาชีพในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เช่นเดียวกับช่วงยุคบุกเบิกไคโรแพรคติกในสหรัฐอเมริกา ไคโรแพรคเตอร์ในประเทศไทยต่างพยายามอย่างหนักด้วยความรู้และแสดงถึงเจตนาอันสุจริตของพวกเขาที่จะของพวกเขา
หนึ่งในผู้บุกเบิกยุคเริ่มแรกของ
ไคโรแพรคติกในประเทศไทยคือ
ดร.โอ๊ต บูรณา
พลเมืองชาวไทยผู้ซึ่งสำเร็จการศึกษาศาสตร์ไคโรแพรคติกจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ตระหนักว่าจะต้องทำบางอย่างเพื่อ ก)หยุดยั้งการจับกุม ข) ทำให้วิชาชีพไคโรแพรคติกได้รับการยอมรับอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย ในปี 1999 เขาได้ตัดสินใจริเริ่มสมาคมไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทยขึ้น ดร.โอ๊ตได้ติดต่อแพทย์จัดกระดูกทุกท่านที่เขารู้จัก ซึ่งทำงานอยู่ในประเทศไทยในช่วงเวลานั้น พร้อมทำการเชิญทุกท่านให้เข้าร่วมสมาคมใหม่ของเขา ต้องให้เครดิตแก่ดร.โอ๊ตเป็นอย่างมาก เขาไม่เลือกที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างแพทย์จัดกระดูกที่เป็นชาวต่างชาติแต่อย่างใด เขาทำการเชื้อเชิญทุกท่านให้เข้าร่วมด้วยกัน แพทย์จัดกระดูกส่วนใหญ่เลือกที่จะเข้าร่วมด้วย มีเพียงไม่กี่ท่านที่ปฏิเสธ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอในเวลาที่จะเริ่มต้นทำสิ่งใดใหม่ๆ
ช่วงเริ่มต้นที่ทำการเจรจากับทางกระทรวงสาธารณสุข
ทางสมาคมเสียเวลาไปเล็กน้อยในช่วงเริ่มต้นที่ทำการเจรจากับทางกระทรวงสาธารณสุขโดยมีเป้าหมายให้เกิดการยอมรับให้ไคโรแพรคติกเป็นสิ่งที่ถูกกฏหมาย ทางสมาคมแพทยไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทยประสบความสำเร็จในการทำให้กระทรวงสาธารณสุขยอมรับและจัดตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อทุ่มเทในการศึกษาให้ตระหนักถึงศักยภาพของการแพทย์ไคโรแพรคติก ทางสมาคมเองก็มีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานเป็นจำนวนมากรวมไปถึงการแสดงการสาธิตที่กระทรวงสาธารณสุข
บรรดาสมาชิกของสมาคมใช้เวลาหลายพันชั่วโมงทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือการได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ รายงานต่างๆที่ครอบคลุมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการรักษาด้วยศาสตร์ไคโรแพรคติกได้ถูกแปลเป็นภาษาไทย และส่งไปยังกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขก็จัดส่งพนักงานไปยังทุกๆคลินิกที่เปิดดำเนินการ เพื่อตรวจสอบบันทึกผู้ป่วย ทางเจ้าพนักงานมีอำนาจโดยอิสระที่จะติดต่อกับคนไข้ของคลินิกต่างๆเพื่อประเมินความพึงพอใจในการให้บริการ โชคดีที่เรามีกลุ่มของแพทย์จัดกระดูกที่ดีซึ่งทำงานอยู่ที่นี่และได้ให้บริการที่ดีเยี่ยม เราจึงสามารถผ่านกาประเมินนี้ไปได้อย่างสวยสดงดงาม
หลายปีผ่านไปพร้อมกับความล้มเหลวหลายครั้ง เนื่องด้วยบางสมาคมวิชาชีพทางการแพทย์ได้คัดค้านความพยายามของเราที่จะผลักดันให้ไคโรแพรคิติกเป็นที่ยอมรับอย่างถูกกฎหมาย จดหมายคัดค้านหลายต่อหลายฉบับถูกส่งไปยังกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งทำให้การเดินทางไปสู่การเป็นวิชาชีพที่ถูกต้องตามกฏหมายของพวกเราล่าช้าลง แต่เรายังคงพากเพียรอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายแล้วในปี 2007 หลังจาก8 ปีของการทำงานอย่างหนัก ความพยายามของพวกเราก็ได้รับรางวัลเป็นการตรากฎหมายของกฎระเบียบการแพทย์ไคโรแพรคติก ซึ่งเป็นการยอมรับถึงวิชาชีพนี้ในประเทศไทย
เมื่อมองผ่านเส้นทางของการออกกฎระเบียบของการแพทย์ไคโรแพรคติก ซึ่งเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของสมาคมการแพทย์ไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทย ซึ่งอนุญาตให้พวกเราบรรดาแพทย์จัดกระดูกในปัจจุบันดำเนินการได้โดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อการถูกจับกุมอีกต่อไป เราจึงสามารถที่จะตอบสนองต่อภารกิจ และให้บริการแก่สาธารณชนได้เต็มความสามารถเป็นที่สุด ขณะเดียวกันก็ได้เสนอทางเลือกแก่ผู้ป่วยได้เลือกรักษากับแพทย์ด้วยการทานยา หรือจะเข้ารับการผ่าตัดเพื่อขจัดปัญหาทางสุขภาพของพวกเขาให้ได้เร็วที่สุด